ดอยหมื่อก่าโด่
สถานที่ตั้ง ชื่อ ดอยหมื่อกาโด่ ที่ตั้ง หมู่ 8 บ้านหัวแม่ลาก๊ะ ตำบลแม่ยวมน้อย อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากถนนขุนยวม – แม่แจ่ม ทางหลวงหมายเลข 1263 แยกบ้านปางอุ๋ง ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 20 กิโลเมตร ดอยหมื่อกาโด่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุง โดยสภาพทั่วไปของดอยหมื่อกาโด่ เป็นลักษณะภูเขาที่มีความสูงและลัดชันมาก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางขึ้นดอยหมื่อกาโด่ต้องเดินด้วยเท้า ผ่านป่าทึบ หน้าผา และทุ่งหญ้า ไปจนถึงยอดดอย ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,927 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์อำเภอขุนยวม ทิวทัศน์ดอยอินทนนท์ได้อย่างชัดเจน สภาพป่าบนดอยหมื่อกาโด่ ยังมีสภาพเป็นป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ไม้เมืองหนาว มีลำธาร น้ำตกและสัตว์ป่าที่หายาก เช่น แพะภูเขา เลียงผา กระต่าย นกนานาชนิด และ ยังค้นพบต้นดอกกุหลาบ สองพันปี (ลักษณะคล้ายกับกุหลาบพันปีบนดอยอินทนนท์) ทั้งยังเป็นที่ฝังอิฐของครูบาตุ๊โน ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่เคารพบูชานับถือ ของชาวอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยเหตุผลนี้ ดอยหมื่อกาโด่ จึงมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ควรได้รับการพัฒนาปรับปรุงเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่น่าสนใจ และควรอนุรักษ์และรักษาไว้ ดอยหมื่อก่าโด่ ยังมีกุหลาบพันปีสีแดง กล้วยไม้ กล้วยไม้ดินอีกหลายชนิด ประวัติและความเป็นมา เมื่อหลายอายุคนมาแล้ว มีชาวบ้านได้กล่าวว่า มีชาวบ้านอำเภอแม่แจ่ม ที่มีชื่อว่า นายเดอะพรือ ไม่ทราบนามสกุล เป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรก ต่อมานายเดอะพรือได้ปักหลักสร้างที่อยู่อาศัย ณ หัวแม่ลาก๊ะ และนายเดอะพรือกลายเป็นผู้นำหมู่บ้านในสมัยนั้นมีการเล่าขานว่า ในอดีตมีหญิงชายคู่หนึ่งรักกันมานาน และได้ตกลงแต่งานกัน จนได้กำเนิดบุตร 2 คน บุตรคนแรกเป็นผู้ชายและบุตรคนที่ 2 เป็นผู้หญิงต่อมาไม่กี่ปีก้เกิดปัญหาทางครอบครัวเกิดมีปากเสียงกันอย่างรุงแรงถึงขั้นต้องเลิกรากัน ทั้งคู่ได้ตกลงแบ่งบุตรกัน โดยฝ่ายชายที่ชาวบ้านเรียกชื่อว่า พาตี่โดะ หมายถึง ลุงใหญ่ ในหมู่บ้านก็ได้พาบุตรชายเข้าป่าขึ้นเขาไปทางทิตเหนือของหมู่บ้าน ภูเขาลูกที่พาตี่โดะได้พาบุตรชายไปนั้นซึ่งอยู่ติดกับ หมู่บ้านปางเกี๊ยะ แลบ้านแม่สะต๊อบ ต่อมาชาวบ้านก็ได้เรียกชื่อดอย หรือภูเขาลูกนี้ว่า ต่าหลู่พาตี่โดะ เป็นภาษา ปาเกอญอ ซึ่งหมายถึง ดอยหรือภูเขาของพาตี่โดะ แปลเป็นไทยซึ่งหมายถึง ดอยหรือภูเขาของลุงใหญ่ ปัจจุบันเรียกเพี้ยนไปจากเดิม เป้นดอยพาตี่โด่ จนถึงปัจจุบัน ส่วนหมื่อก่าโดะ หมายถึง ป้าใหญ่ ในหมู่บ้าน ก็ได้พาบุตรสาวเข้าป่าเช่นกัน ไปเข้าป่าขึ้นเขาอีกลูกหนึ่งทางไปทางทิศใต้ ซึ่งติดกับบ้านหัวแม่ลาก๊ะ บ้านแม่โกปี่ ต่อมาชาวบ้านก้ได้ตั้งชื่อหรือเรียกดอยลูกนี้ว่า ต่าหลู่หมื่อก่าโดะ เป็นภาษาปากาเกอญอ หมายถึง ดอยหรือภูเขาของหมื่ก่าโดะ แปลเป็นไทย ซึ่งหมายถึงดอยหรือภูเขาของป้าใหญ่ปัจจุบันเรียกเสียงเพี้นไปจากเดิม เป็นดอยหมื่อก่าโด่ หลังจากที่พาตี่โดะและหมื่อก่าโดะ ได้พาบุตขึ้นเขา คนละลูกแล้วชาวบ้านในหมู่บ้านไม่รู้ชะตากรรม ของทั้ง 4 คนเลย เนื่องจากว่าสมัยนั้นยังมีสัตว์ดุร้ายอยู่ ชาวบ้านไม่กล้าเข้าป่า ออกตามหาบุคคลทั้ง4 คนเลย จนเป็นตำนานเล่าขานนถึงปัจจุบัน 23 กรกฎาคม 2563
|