ส่วนที่ ๒
ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
๑.๑ แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐)
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๕ กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยกำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อรับผิดชอบในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดวิธีการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ ในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผล รวมทั้งกำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการจัดทำ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ รวม ๖ คณะอันประกอบด้วย คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภายในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน
สถานการณ์ แนวโน้ม วิสัยทัศน์ และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ
๑. บทนำ
การพัฒนาประเทศไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ เป็นต้นมาได้ส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้รับการยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มบนของกลุ่มประเทศระดับรายได้ปานกลาง ในด้านสังคมที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนส่งผลให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจน และในด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในความหลากหลายเชิงนิเวศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความท้าทายต่อการพัฒนาที่สำคัญ อาทิ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี ๒๕๖๐ ที่ร้อยละ ๓.๙ ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพ เมื่อเทียบกับร้อยละ ๖.๐ ต่อปีในช่วงเวลาเกือบ ๖ ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักจากการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศและสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพภาคบริการและภาคเกษตรมีผลิตภาพการผลิตในระดับต่ำ ขาดการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ประกอบกับแรงงานไทยยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและสมรรถนะที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ
นอกจากนั้น ศักยภาพและคุณภาพของประชากรไทยทุกช่วงวัยยังคงเป็นปัจจัยท้าทายสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แม้ว่าการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะ การศึกษา บริการสาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และการคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ ของคนไทยมีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องคุณภาพการให้บริการที่มีมาตรฐานแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ขณะที่ปัญหาด้านความยากจนยังคงเป็นประเด็นท้าทายในการยกระดับการพัฒนาประเทศให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันการวางกลยุทธ์ระยะยาวในการฟื้นฟู การใช้ และการรักษาทรัพยากรอย่างบูรณาการเพื่อการพัฒนาประเทศที่ผ่านมายังขาดความชัดเจน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศยังมีปัญหาการใช้อย่างสิ้นเปลืองและเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนาประเทศขาดความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการและปัญหาของประชาชน ขณะที่ความมั่นคงภายในประเทศยังมีหลายประเด็นที่ต้องเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็ง ลดความขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์ที่มีรากฐานมาจากความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาค การขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองตลอดจนส่งเสริมคนในชาติให้ยึดมั่นสถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจให้เกิดความรักและความสามัคคี
ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานและวัยเด็กที่ลดลงและประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ มีความท้าทายมากขึ้น ทั้งในส่วนของเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศในการจัดสวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนและการออม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ความมั่นคงทางสังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนซึ่งจะเป็นประเด็นท้าทายต่อการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
๒. ปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ
แม้ว่าประเทศไทยจะมีตำแหน่งที่ตั้งที่สามารถเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงในภูมิภาคและเป็นประตูสู่เอเชีย แต่การที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทำให้ปัญหาด้านเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านยังคงเป็นความท้าทายด้านความมั่นคงในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงต้องให้ความสำคัญกับปัญหาด้านความมั่นคงอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และมีความเชื่อมโยงกันหลายมิติ ที่อาจเป็นประเด็นท้าทายต่อการสร้างบรรยากาศความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชนและระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งรวมถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชาติที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประชากรไทยที่มีแนวคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างยั่งยืนนอกจากนี้ การขยายอิทธิพลและการเพิ่มบทบาทของประเทศมหาอำนาจ ที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ หรือเกิดการย้ายขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ขณะที่องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ อาทิ องค์การระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ จะมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดกฎ ระเบียบ ทิศทางความสัมพันธ์และมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจ รวมทั้งการรวมกลุ่มเศรษฐกิจและการเปิดเสรีในภูมิภาคที่นำไปสู่ความเชื่อมโยงในทุกระบบ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอาชญากรรมข้ามชาติและเศรษฐกิจนอกระบบ รวมทั้งปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการลักลอบเข้าเมือง
ในทางกลับกัน ความเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจะก่อให้เกิดนวัตกรรมอย่างพลิกผัน อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หุ่นยนต์และโดรน เทคโนโลยีพันธุกรรมสมัยใหม่ และเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งตัวอย่างแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดเหล่านี้ คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวได้เข้มแข็งขึ้น แนวโน้มสำคัญที่จำเป็นต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิการรวมกลุ่มทางการค้าและการลงทุนที่จะมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นในการเพิ่มผลิตภาพและสร้างความหลากหลายของสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์รูปแบบชีวิตใหม่ๆ
นอกจากนั้น ประเทศไทยคาดว่าจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในปี ๒๕๗๔จะก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุที่จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการคาดการณ์ว่าครอบครัวไทยจะมีขนาดเล็กลงและมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นประชากรในประเทศไทยจะมีช่วงอายุที่แตกต่างกันและจะมีกลุ่มคนช่วงอายุใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของประชากรให้มีคุณภาพและการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการผลิตและการบริการของประเทศจะเป็นความท้าทายสำคัญในระยะต่อไป
ในขณะเดียวกัน โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาจทำให้เกิดความต้องการแรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนจำนวนแรงงานไทยที่ลดลง ซึ่งปัจจัยด้านการเปิดเสรีในภูมิภาคและความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคจะทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานและการย้ายถิ่นมีความสะดวกมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรเข้าออกประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีศักยภาพซึ่งมีแนวโน้มในการเคลื่อนย้ายไปเรียนหรือทำงานในทั่วทุกมุมโลกสูงขึ้น ทั้งนี้ การย้ายถิ่นส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จึงอาจจะเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะยังคงเป็นประเทศผู้รับของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านขณะที่ประชากรไทยโดยเฉพาะแรงงานทักษะอาจมีแรงจูงใจในการย้ายถิ่นไปยังประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ดีกว่า อาจทำให้การแย่งชิงแรงงานมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมไทย
นอกจากนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในเชิงความผันผวน ความถี่ และขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ตลอดจนระบบผลิตทางการเกษตรที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกับความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ ขณะที่ระบบนิเวศต่างๆ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงในการสูญเสียความสามารถในการรองรับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ดี ระดับความรุนแรงของผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศต่าง ๆ ดังกล่าวที่แต่ละประเทศจะต้องเผชิญจะมีความแตกต่างกัน ทำให้การเป็นสังคมสีเขียวการรักษาและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการจะได้รับความสำคัญและความสนใจจากนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกรวมถึงการสร้างสมดุลความมั่นคงด้านพลังงานและอาหารมีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกฎระเบียบและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมจะมีความเข้มข้นและเข้มงวดขึ้น โดยกรอบการพัฒนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ที่สำคัญ เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และบันทึกความตกลงปารีสจะได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น
แนวโน้มเหล่านี้จะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ ทั้งในส่วนของการจ้างงานและอาชีพ สาขาการผลิตและบริการใหม่ๆ ความมั่นคงของประเทศอันเกิดจากภัยคุกคามและความเสี่ยงด้านอื่นๆ ที่ซับซ้อนขึ้น อาชญากรรมไซเบอร์ รูปแบบการก่อสงครามที่ใช้เทคโนโลยี
เป็นเครื่องมือ การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีและรวดเร็วของผู้คน เงินทุน ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เทคโนโลยีและสินค้าและบริการ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและคาดการณ์ได้ยากการเกิดขึ้นของโรคระบาด และโรคอุบัติใหม่ที่จะส่งผลให้การเฝ้าระวังด้านการสาธารณสุขในประเทศมีความสำคัญมากขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ หากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรองรับผลกระทบต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบพลิกผันที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเข้าถึงเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และองค์ความรู้สมัยใหม่มีระดับความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประชากรต่างๆ โดยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อทั้งการจ้างงานและอาชีพที่จะมีรูปแบบและลักษณะงานที่เปลี่ยนไป มีความต้องการแรงงานที่มีสมรรถนะสูงเพิ่มมากขึ้น หลายอาชีพอาจหายไปจากตลาดงานในปัจจุบันและบางอาชีพจะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องการทักษะระดับต่ำ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ปรับตัวไม่ทันหรือขาดความรู้และทักษะที่ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปกระแสโลกาภิวัตน์ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาขยายความเป็นเมือง วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่อาจจะมีความแปรปรวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวจะส่งผลให้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
จากปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆข้างต้น เห็นได้ว่าบริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว มีพลวัตสูง และมีความซับซ้อนหลากหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตการพัฒนาประเทศอย่างมาก ดังนั้น การพัฒนาประเทศจึงจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ครอบคลุมทุกมิติและทุกด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง มีความร่วมมือในลักษณะประชารัฐจากภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบของหุ้นส่วนการพัฒนาที่เป็นการดำเนินงานอย่างบูรณาการเนื่องจากทุกมิติการพัฒนามีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันโดยประเทศไทยจำเป็นต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความรู้ สมรรถนะและทักษะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆสามารถรู้เท่าทันและปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขมีอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์และกติกาใหม่ๆและมาตรฐานที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบและปัจจัยส่งเสริมต่าง ๆที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกันทั้งในส่วนของระบบการเรียนการสอน และการพัฒนาทักษะฝีมือที่สอดคล้องกันกับการพัฒนาของคนในแต่ละช่วงวัย ระบบบริการสาธารณะโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมก้าวทันโลก จากการต่อยอดการพัฒนาบนพื้นฐานนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ส่งผลให้เกิดการสร้างห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจในทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและภาคบริการ กระจายผลประโยชน์จากการพัฒนา ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน
นอกจากนี้ ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร การรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายเชิงนิเวศ การส่งเสริมการดำเนินชีวิตและธุรกิจและการพัฒนาและขยายความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมกับการมีข้อกำหนดของรูปแบบและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะการใช้พื้นที่ที่ชัดเจน ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ กฎหมาย ระบบภาษีต้องมีกลยุทธ์การพัฒนาที่สามารถอำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ประเทศมีศักยภาพการแข่งขันที่สูงขึ้นและสามารถใช้จุดแข็งในเรื่องตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญของการรวมกลุ่มความร่วมมือกับนานาประเทศในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อกระชับและสร้างสัมพันธไมตรี เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างพลังทางเศรษฐกิจและรักษาความมั่นคงของประเทศโดยจำเป็นต้องสร้างความพร้อมในการที่จะยกระดับมาตรฐานและมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกติกาสากลในด้านต่างๆขณะเดียวกันประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งให้มีการปฏิรูประบบราชการและการเมืองเพื่อให้เกิดการบริหารราชการที่ดีและมีเสถียรภาพทางการเมือง มีการส่งเสริมคนในชาติให้ยึดมั่นสถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจเพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี และลดความขัดแย้งภายในประเทศ โดยที่นโยบายการพัฒนาต่างๆจำเป็นต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับโครงสร้างและลักษณะพฤติกรรมของประชากรที่อาจจะมีความแตกต่างจากปัจจุบันมากขึ้น
ดังนั้น ภายใต้เงื่อนไขโครงสร้างประชากร โครงสร้างเศรษฐกิจ สภาพสังคม สภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อม และปัจจัยการพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการวางแผนการพัฒนาที่รอบคอบและครอบคลุม อย่างไรก็ตาม หลายประเด็นพัฒนาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการปรับตัวซึ่งจะต้องหยั่งรากลึกลงไปถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างการขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปในอนาคตจึงจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์ในระยะยาวที่ต้องบรรลุ พร้อมทั้งแนวยุทธศาสตร์หลักในด้านต่างๆ เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างบูรณาการบนพื้นฐานประชารัฐเพื่อยกระดับจุดแข็งและจุดเด่นของประเทศ และปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนและจุดด้อยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นเป้าหมายใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ และถ่ายทอดไปสู่แผนในระดับอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ภารกิจและพื้นที่ ซึ่งรวมถึงพื้นที่พิเศษต่างๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อให้การพัฒนาประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน
๓. วิสัยทัศน์ประเทศไทย
“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี
ความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคลและมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนมีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลสังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืนจนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุขได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้นและมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนมีคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจนเศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็งขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศเพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศตลอดจนมีการสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปและประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลกและมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลังในการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญาทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การรักษาและการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืนและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน
โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุขเศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวมโดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย
๑) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
๒) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
๔) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
๕) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
๖) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ
๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ
๔.๑ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
(๑) การรักษาความสงบภายในประเทศ
(๒)การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง
(๓) การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ
(๔) การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ
(๕) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม
๔.๒ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
(๑) การเกษตรสร้างมูลค่า
(๒) อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
(๓) สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว
๔.๔ โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก
(๕) พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่
๔.๓ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
(๑) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม
(๒) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
(๓) ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑
(๔) การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย
(๕) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
(๖) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
(๗) การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ
๔.๔ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
(๑) การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ
(๒) การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
(๓) การเสริมสร้างพลังทางสังคม
(๔) การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง
๔.๕ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(๑) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว
(๒) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล
(๓) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
(๔) พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
(๕) พัฒนาความมั่นคงน้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(๖) ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ
๔.๖ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
(๑) ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็วโปร่งใส
(๒) ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่
(๓) ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
(๔) ภาครัฐมีความทันสมัย
(๕) บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำ นึกมีความสามารถสูงมุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพ
(๖) ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(๗) กฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ และมีเท่าที่จำเป็น
(๘) กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาค
๑.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ได้จัดทาขึ้นในช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยได้น้อมนาหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙–๑๑ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง เกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน
ในการจัดทาแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ครั้งนี้ สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทาบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย ๔.๐ ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และ ทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการเชื่อมต่อกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ในลักษณะการแปลงยุทธศาสตร์ระยะยาวสู่การปฏิบัติ โดยในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดประเด็นการพัฒนา พร้อมทั้งแผนงาน/โครงการสำคัญที่ต้องดาเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วง ๕ ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมขณะเดียวกันยังได้กำหนดแนวคิดและกลไกการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อกากับให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีทิศทางและเกิดประสิทธิภาพ นาไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย
๑. ภาพรวมการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒
๑.๑ หลักการ
๑.๒ จุดเปลี่ยนสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๑๒
๑.๓ ประเด็นการพัฒนาหลักที่สำคัญในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒
๒. การประเมินสภาพแวดล้อมการพัฒนาประเทศ
๒.๑ สถานการณ์และแนวโน้มภายนอก
๒.๒ สถานการณ์และแนวโน้มภายใน
๓. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒
๓.๑. วัตถุประสงค์
๓.๒. เป้าหมายรวม
๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ มีทั้งหมด ๑๐ ยุทธศาสตร์ โดยมี ๖ ยุทธศาสตร์ตามกรอบยุทธศาสตร์ ชาติ ๒๐ ปี และอีก ๔ ยุทธศาสตร์ที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ดังนี้
๔.๑ ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
๔.๒ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
๔.๓ ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
๔.๔ ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๔.๕ ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืน
๔.๖ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย
๔.๗ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
๔.๘ ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
๔.๙ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
๔.๑๐ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
๕. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ สู่การปฏิบัติ
๕.๑ หลักการ
๕.๒ แนวทางขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒
๕.๓ การติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒
๑.๓ แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เขต 1 ( จังหวัดเชียงใหม่,แม่ฮ่องสอน,ลำปาง,ลำพูน )
วิสัยทัศน์
“ศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนสู่สากล บนพื้นฐานความโดดเด่น วัฒนธรรมล้านนา สังคมน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน”
พันธกิจ
- พัฒนาเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่สากล
- เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการเกษตร การค้า และการลงทุน
- เชื่อมโยงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าเพิ่มทาง เศรษฐกิจ
- ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- พัฒนาและเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนระหว่างภูมิภาค
ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Positioning)
กลุ่มจังหวัด |
เชียงใหม่ |
แม่ฮ่องสอน |
ลำปาง |
ลำพูน |
เมืองท่องเที่ยวสากล |
ท่องเที่ยวเชิง อารยธรรม และสร้างสรรค์ |
ท่องเที่ยวเชิง อารยธรรม และสร้างสรรค์ |
ท่องเที่ยวเชิง อารยธรรม และสร้างสรรค์ |
ท่องเที่ยวเชิง อารยธรรม และสร้างสรรค์ |
Food Valley |
เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย ( พืชผักเมืองหนาว ลำไย มะม่วง กาแฟ สมุนไพร/ ไก่ประดู่หางดำ นมพรีเมียม) |
เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย (กระเทียม ถั่วเหลือง งา กาแฟ) |
เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย (ข้าว ข้าวโพดหวาน สับปะรด) |
เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย (ลำไย มะม่วง ข้าว กระเทียม) |
Green City |
พื้นที่ป่าไม้ ลุ่มน้ำปิง เขตเมืองเก่า/ย่านชุมชน อนุรักษ์ |
พื้นที่ป่าไม้ ลุ่มน้ำสาละวิน |
พื้นที่ป่าไม้ ลุ่มน้ำวัง เขตเมืองเก่า/ย่านชุมชน อนุรักษ์ |
พื้นที่ป่าไม้ เขตเมืองเก่า/ย่านชุมชน อนุรักษ์ |
Northern Landport |
สนามบินนานาชาติ ศูนย์กลางการค้า การลงทุน |
ด่านการค้าชายแดน |
โลจิสติกส์ทางบกและ ทางราง |
นิคมอุสาหกรรม |
Health and Wellness |
1.ศูนย์กลางการแพทย์ ทันตกรรมของภูมิภาค 2.สปาและการนวด สุขภาพ 3.การพำนักระยะยาว 4.เครื่องสำอางสมุนไพร 5.น้ำพุร้อน |
1.ชุมชนท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ 2.ผลิตภัณฑ์สปา 3.น้ำพุร้อน |
1.ภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทย สมนุไพร 2. ชุมชนท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ 3. น้ำพุร้อน |
1.ภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทย 2.ชุมชนท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ |
แผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน (พ.ศ.2561-2565)
(ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2563)
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
“เมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เปิดประตูสู่ตะวันตก ยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจ ให้ยั่งยืน บนพื้นฐานแห่งความพอเพียง”
เป้าประสงค์รวม (Objective)
๑. สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วิถีชีวิตวัฒนธรรม สุขภาพ เกษตรปลอดภัย และการค้าชายแดน
๒. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาการศึกษา การพัฒนาคน สังคม การบริการภาครัฐและพลังงานทดแทน
๓. เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประเพณีวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
ประเด็นการพัฒนา
ประเด็นการพัฒนาที่ ๑ : การยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน
เป้าประสงค์ที่ ๑ พัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพในเชิงนิเวศ วิถีชีวิต สุขภาพ เพื่อเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว(ร้อยละ5)
ตัวชี้วัดที่ ๒ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน (ร้อยละ5)
กลยุทธ์ที่ ๑.๑ สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพิ่มศัยภาพการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนโครงสร้างพื้นฐาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว
กลยุทธ์ที่ ๑.๒ ฟื้นฟู อนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวิถึชีวิต วัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาตร์
กลยุทธ์ที่ ๑.๓ พัฒนาศัยภาพบุคลากร และยกระดับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว
กลยุทธ์ที่ ๑.๔ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในโครงการตามพระราชดำริ วนเกษตร เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ และการทองเที่ยวโดยชุมชน
กลยุทธ์ที่ ๑.๕ พัฒนาการตลาดและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
กลยุทธ์ที่ ๑.๖ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
เป้าประสงค์ที่ ๒ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว (ร้อยละ ๕)
ตัวชี้วัดที่ ๒ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน (ร้อยละ ๕)
กลยุทธ์ที่ ๑.๑ สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพิ่มศักยภาพการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว
เป้าประสงค์ที่ ๓ ส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และวิสาหกิจชุมชน
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP และวิสาหกิจชุมชน (ร้อยละ ๑๒)
กลยุทธ์ที่ ๑.๗ ส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP วิสาหกิจชุมชน และ C-POT ด้านการท่องเที่ยว
ประเด็นการพัฒนาที่ ๒ : พัฒนาศักยภาพการค้า การลงทุน และการค้าชายแดน
เป้าประสงค์ที่ ๑ การค้าการลงทุน มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าชายแดน (ร้อยละ 5)
ตัวชี้วัดที่ ๒ : จำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ และการลงทุน(50 ราย)
กลยุทธ์ที่ ๒.๑ พัฒนาระบบ Logistic เพื่อรองรับการเปิดด่านสู่ประเทศเมียนมา, กลุ่ม BIMSTEC ,และกลุ่ม ASEAN
กลยุทธ์ที่ ๒.๒ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน และยกระดับให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร
กลยุทธ์ที่ ๒.๓ ส่งเสริมพัฒนาการค้าการลงทุน และการค้าชายแดน
กลยุทธ์ที่ ๒.๔ ยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการท่องเที่ยววัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข และเปิดประตูสู่ตะวันตก
กลยุทธ์ที่ ๒.๕ พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้
ประเด็นการพัฒนาที่ ๓ : การยกระดับคุณภาพชีวิต แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
เป้าประสงค์ที่ ๑ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครัวเรือนผ่านเกณฑ์ จปฐ.
ตัวชี้วัดที่ : ๑ ร้อยละที่ลดลงของจำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.
กลยุทธ์ที่ ๓.๑ ส่งเสริมครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.ที่สามารถพัฒนารายได้ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการส่งเสริมอาชีพด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ประมง ค้าขาย หัตถกรรม อุตสาหกรรม บริการ และด้านอื่นๆ ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์ที่ ๒ เด็ก เยาวชน และประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และการมีงานทำของนักเรียนและนักศึกษา
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละของผู้เรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานของประเทศ
ตัวชี้วัดที่ ๒ : อัตราการเรียนต่อของนักเรียนในแต่ละระดับเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัดที่ ๓: ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของคนอายุ ๑๕-๖๐ ปีเต็ม อ่านออก/เขียนไทยได้
กลยุทธ์ที่ ๓.๔ : พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งในและนอกระบบ โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
กลยุทธ์ที่ ๓.๕ : เพิ่มโอกาสทางการศึกษาในทุกระดับ เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
กลยุทธ์ที่ ๓.๖ : พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา สภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษา และส่งเสริมเทคโนโลยีที่ทันสมัย
กลยุทธ์ที่ ๓.๗ : เพิ่มโอกาสและพัฒนาทักษะในการทำงานเพื่อการมีงานทำให้กับนักศึกษา และเยาวชน
เป้าประสงค์ที่ ๓ ประชาชนได้รับการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึง และภาครัฐมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดที่ ๑ : อัตราการตายของทารก ต่อการเกิดมีชีพ
ตัวชี้วัดที่ ๒ : จำนวนผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ได้รับบริการเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัดที่ ๓ : อัตราการฆ่าตัวตายลดลง
ตัวชี้วัดที่ ๔ : อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรลดลง
กลยุทธ์ที่ ๓.๘ : พัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข และระบบการให้บริการที่มีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ ๓.๑๐: ส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ได้รับบริการภาครัฐอย่างทั่วถึง
กลยุทธ์ที่ ๓.๑๑ : ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
กลยุทธ์ที่ ๓.๑๒ : พัฒนามาตรการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยและอุบัติเหตุทางถนน
เป้าประสงค์ที่ ๔ สร้างความเข้มแข็งให้กับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยการสืบทอดศาสนา ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเน้นคุณธรรมจริยธรรม
ตัวชี้วัดที่ ๑ : จำนวนกิจกรรมการสืบทอดทางศาสนา ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5)
กลยุทธ์ที่ ๓.๑๓ : ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มชาติพันธ์
เป้าประสงค์ที่ ๕ การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการตามพระราชดำริ โครงการหลวง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ขยายผลสู่ชุมชน/หมู่บ้าน และสถานศึกษาในพื้นที่อย่างทั่วถึง
ตัวชี้วัดที่ 1 : จำนวนที่เพิ่มขึ้นของชุมชน/หมู่บ้าน สถานศึกษา ที่ได้รับการขยายผลการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและโครงการหลวง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5)
กลยุทธ์ที่ 3.14 : ขยายผลการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการตามพระราชดำริ โครงการหลวง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสู่พื้นที่เป้าหมาย
เป้าประสงค์ ที่ ๖ ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่า ยกระดับสู่มาตรฐาน
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละที่ลดลงของจำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.
กลยุทธ์ที่ ๓.๒๐ : ส่งเสริมการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่า
เป้าประสงค์ที่ ๗ : การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานทั้งในและนอกระบบเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของแรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและฝีมือแรงงาน (ร้อยละ 5)
ตัวชี้วัดที่ ๒ : ร้อยละของสถานประกอบกิจการที่ผ่านการตรวจสอบด้านกฎหมายด้านแรงงานทั้งในและนอกระบบ
กลยุทธ์ที่ ๓.๑๖ ส่งเสริมการเพิ่มทักษะด้านอาชีพและฝีมือแรงงานของแรงงานทั้งในและนอกระบบ
กลยุทธ์ที่ ๓.๑๗ ส่งเสริมการมีงานทำ การสร้างรายได้ของแรงงานทั้งในและนอกระบบ
กลยุทธ์ที่ ๓.๑๘ ส่งเสริมและติดตามสถานประกอบการกิจการด้านการคุ้มครอง การจ้างงานและความปลอดภัยในการทำงานที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
เป้าประสงค์ที่ ๘ : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ ให้เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่
ตัวชี้วัดที่ ๑ : จำนวนโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนา
กลยุทธ์ที่ ๓.๒ ส่งเสริมพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม ไฟฟ้า แหล่งน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่
เป้าประสงค์ที่ ๙ : ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ที่ ๓.๑๙ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน
ประเด็นการพัฒนาที่ ๔ : การจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ที่ ๑ : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลและยั่งยืน
ตัวชี้วัดที่ ๑ : พื้นที่ป่าถูกบุกรุกและพื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟูเพิ่มมากขึ้น (ร้อยละ ๕)
ตัวชี้วัดที่ ๒ : จำนวนวันที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเฉลี่ยรายวันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น (๑๖ วัน)
ตัวชี้วัดที่ ๓ : จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ลดลง (ร้อยละ ๑๐)
ตัวชี้วัดที่ ๔ : ปริมาณขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น (ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐)
ตัวชี้วัดที่ ๕ : ตลิ่งลำน้ำได้รับผลเสียหายลดลง (ร้อยละ ๕)
ตัวชี้วัดที่ ๖ : ร้อยละการเพิ่มขึ้นของการมีส่วนร่วมของประชาชน การอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๑๐)
กลยุทธ์ที่ ๔.๑ : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ ๔.๓ : ป้องกันและแก้ไขไฟป่าหมอกควันโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
กลยุทธ์ที่ ๔.๔ : ส่งเสริมการบริหารจัดการคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชนและขยะอันตรายต้นทาง
กลยุทธ์ที่ ๔.๕ : การป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง
เป้าประสงค์ที่ ๒ : ประชาชนมีความมั่นคงในที่ดินทำกิน และอาศัยอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละการเพิ่มขึ้นของการมีส่วนร่วมของประชาชน การอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ ๑๐)
กลยุทธ์ที่ ๔.๒ : สร้างป่าสร้างรายได้ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน
ประเด็นการพัฒนาที่ ๕ : การพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภายในและความมั่นคงตามแนวชายแดน
เป้าประสงค์ที่ ๑ : ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม
ตัวชี้วัดที่ ๑ : จำนวนกิจกรรมการจัดงานเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์และสร้างความปรองดองสมานฉันท์ (๗ กิจกรรม)
กลยุทธ์ที่ ๕.๑ : ส่งเสริมการปกป้องสถาบันและการปรองดองสมานฉันท์
เป้าประสงค์ที่ ๒ : หมู่บ้าน/ชุมชน/สถานประกอบการ/โรงเรียน ปลอดจากยาเสพติด
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด (ร้อยละ ๑๐)
ตัวชี้วัดที่ ๒ : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของสถานประกอบการสีขาวและโรงเรียนปลอดยาเสพติด (ร้อยละ ๑๐)
กลยุทธ์ที่ ๕.๒ : สนับสนุนป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด
เป้าประสงค์ที่ ๓ : สร้างความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละที่ลดลงของการเกิดคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง ๓ ปี (ร้อยละ ๕)
กลยุทธ์ที่ ๕.๓ : เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เป้าประสงค์ที่ ๔ : หมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคงอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหมู่บ้านยามชายแดนสามารถพึ่งพาตนเองได้
ตัวชี้วัดที่ ๑ : จำนวนหมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อความมั่นคง (๙ หมู่บ้าน)
กลยุทธ์ที่ ๕.๕ : ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคงอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหมู่บ้านยามชายแดน
เป้าประสงค์ที่ 5 : แก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละจำนวนบุคคลที่ได้รับการแก้ไขปัญหาจากจำนวนผู้มีสิทธิ์ยื่นขอสัญชาติและสถานะเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ร้อยละ 10)
กลยุทธ์ที่ ๕.๖ : เร่งรัดการกำหนดสถานะบุคคลตามกฎหมาย
กลยุทธ์ที่ ๕.๗ : ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
เป้าประสงค์ที่ ๖ : ป้องกันและสร้างเครือข่ายเตือนภัยและบรรเทา เพื่อลดผลกระทบจากสาธารณภัย
ตัวชี้วัดที่ ๑ : ร้อยละของชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ร้อยละ ๕๐)
กลยุทธ์ที่ ๕.๔ : เสริมสร้างศักยภาพชุมชนเครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๑.๔ ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
วิสัยทัศน์
“แม่ฮ่องสอนเมืองอยู่ดี สิ่งแวดล้อม ยั่งยืน คนมีสุข
ด้วยการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล”
พันธ์กิจในการพัฒนาท้องถิ่น
- มุ่งปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค ให้ได้มาตรฐานและครอบคลุม ทั่วถึงในทุกชุมชน
- มุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน แบบพอเพียง ให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้
- มุ่งส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
- มุ่งพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมยั่งยืนให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกท้องถิ่น
- มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา สาธารณสุข และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีให้คนมีสุข
- มุ่งพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้มาตรฐานเมืองอยู่ดี คนมีความสุข
- เพื่อพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๓. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้คนมีความสุข
๔. เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
(พ.ศ. ๒๕61 - 2565)
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
แนวทางการพัฒนา |
๑. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค
|
๑.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง การดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งตามความจำเป็น ทั้งการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง ถนนและสะพาน การวางและปรับปรุงผังเมืองควบคุมอาคาร โดยบูรณาการมีส่วนร่วมที่สามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนร่วมกัน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ๑.๒ การพัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การพัฒนาและบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร รวมถึงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ระบบประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบการสื่อสารในพื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการการมีส่วนร่วมที่สามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนร่วมกัน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน |
๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนยั่งยืน
|
๒.๑ การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ส่งเสริมความรู้ ทักษะให้แก่กลุ่มอาชีพ การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิต การส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมด้านการตลาด การบริหารจัดการ การลงทุนและสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ๒.๒ การส่งเสริมและสนับสนุนการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน สร้างและพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถในการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาด้านการขนส่ง ระบบตลาด การแสวงหาโอกาสทางตลาดใหม่ สร้างนักการตลาดรุ่นใหม่พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ๒.๓ การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ ส่งเสริมการทำเศรษฐกิจแบบพอเพียงพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน การขยายผลโครงการพัฒนาตามพระราชดำริไปยังทุกชุมชน ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกอย่างเท่าเทียมกัน สามารถพึ่งตนเองได้
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
แนวทางการพัฒนา |
|
๒.๔ การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเกษตร ส่งเสริมการจัดการระบบน้ำทางการเกษตรให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ทางการเกษตรให้มากขึ้น สนับสนุนหน่วยงานของรัฐ ยกระดับราคาผลผลิตทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ส่งเสริมให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ ส่งเสริมการเพาะปลูกพืชผักชนิดต่างๆเพื่อการบริโภคและจำหน่ายลดการนำเข้ามาจากจังหวัดใกล้เคียง |
๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน สังคม ชุมชนให้มีคุณภาพ
|
๓.๑ ส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ๓.๑.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนทุกรูปแบบ (ในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตร การสร้างและปรับปรุงสถานศึกษาตลอดจนการสนับสนุนและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา สนับสนุนการเพิ่มแหล่งเรียนรู้ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ๓.๑.๒ เพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๓.๒ ส่งเสริมการสาธารณสุข การกีฬาและนันทนาการ การส่งเสริมให้มีระบบบริการสุขภาพทางด้านสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคติดต่อ การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านสุขภาพมากขึ้น สร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มและทุกวัยให้ความสนใจต่อการออกกำลังกาย โดยสนับสนุนกิจกรรมการกีฬาขั้นพื้นฐาน การกีฬาเพื่อสุขภาพ การกีฬาพื้นบ้านและการพัฒนาการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
|
|
๓.๓ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านต่างๆ ให้สามารถพึ่งตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การดูแลสวัสดิการสังคม และการเข้าถึงบริการของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและบทบาทของพลเมือง ๓.๔ สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม การสนับสนุนการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
แนวทางการพัฒนา |
๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ส่งเสริม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
๔.๑ การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนและจัดให้มีกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการรักษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ๔.๒ สืบทอดและสร้างองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ การส่งเสริมปราชญ์ชาวบ้าน สนับสนุนและจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการบูรณะฟื้นฟูแหล่งโบราณสถานแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ การอบรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์สืบทอดศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แก่นักเรียน นักศึกษาและเยาวชน การสร้างให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ๔.๓ สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรภาคประชาชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐ เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
๕.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
|
๕.๑ สนับสนุนและจัดให้มีระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและจัดระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค บริโภค ปัญหาน้ำเสีย ปัญหามลภาวะเป็นพิษ และปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนและจัดให้มีกิจกรรม/โครงการ เพื่อการเฝ้าระวังและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๕.๒ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาและการรวมรวมข้อมูล การศึกษาวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดบทบัญญัติ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประสานการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสูงสุดและส่งเสริมการจัดตั้งเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน
๕.๓ ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึกและความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนให้มีศักยภาพในการมีส่วนร่วมดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
|
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน
|
6.๑ พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว การปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ด้านภูมิทัศน์และโครงสร้างพื้นฐานให้มีศักยภาพได้มาตรฐานและปลอดภัย 6.๒ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและโฮมสเตย์ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละท้องถิ่น โดยเตรียมความพร้อมของชุมชน ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาของจังหวัด 6.๓ ส่งเสริมการบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ประชาชน ในการยกระดับการท่องเที่ยว จัดระบบการตลาด ส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดเชิงรุกและต่อเนื่อง |
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี
|
7.๑ การสร้างจิตสำนึกและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสร้างจิตสำนึกและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การปรับวิธีคิด วิธีการทำงาน สร้างจิตสำนึกของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การฝึกอบรมเฉพาะด้าน การสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร เป็นต้น 7.๒ พัฒนาการให้บริการสาธารณะ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ ที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม เกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ตลอดจนการปรับปรุงระเบียบกฎหมาย ปรับปรุงสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การประชาสัมพันธ์องค์กร จัดตั้งศูนย์ประสานงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดในอำเภอที่ห่างไกลในการให้บริการประชาชน ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด 7.๓ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการประชาสังคม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกภาคส่วน ให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการทำงาน เพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นเป็นไปตามเจตนารมณ์และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง |
๑.๔ ยุทธสาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น(๒๕๖๑-๒๕๖๕) ของ อบต. มีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมุ่งเน้น ๑. การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ๒. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนยั่งยืน ๓. การพัฒนาคุณภาพคน สังคม ชุมชนให้มีคุณภาพ ๔. การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ส่งเสริม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๕. การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ๖. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน ๗. การพัฒนาบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี โดยปัจจุบันมีรายละเอียดของยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้
๑) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
๑.๑) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง
๑.๒) การพัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
๒) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการค้าชายแดน
๒.๑) การพัฒนาศักยภาพทางด้านการประกอบอาชีพ
๒.๒) การส่งเสริมและสนับสนุนการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
๒.๓) การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ
๒.๔) การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเกษตร
๒.๕) พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
๓) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การพัฒนาคนและสังคม สังคมที่มีคุณภาพ
๓.๑) ส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๓.๒) ส่งเสริมการสาธารณสุข การกีฬาและนันทนาการ ดำเนินการ
๓.๓) ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
๔) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ส่งเสริมศาสนาศิลปวัฒธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
๔.๑) การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔.๒) สืบทอดและสร้างองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
๔.๓) สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๕) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕.๑) สนับสนุนและจัดให้มีระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕.๒) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕.๓) ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี
๖.๑ การพัฒนาและสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๖.๒) พัฒนาการให้บริการสาธารณะ
๖.๓) ส่งเสริมการทีส่วนร่วมและกระบวนการประชาสังคม
๒. ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒.๑ วิสัยทัศน์
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ของท้องถิ่นในอนาคตอย่างรอบด้าน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
“ถนนดี ไฟสว่าง ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอเพียงและเพียบพร้อมทั้งทางด้านบริการขั้นพื้นฐานและสังคม ตลอดจนพร้อมจะยกระดับคุณภาพของประชากรในทุกด้าน พร้อมทั้งคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ”
๒.๒ ยุทธศาสตร์
คณะกรรมการพัฒนาอบต.ร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของ อบต. 7 ด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
1.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
1.2 การพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มเติม สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
2.1 การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
2.1 การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
2.3 การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเกษตร
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพคน สังคม ชุมชนให้มีคุณภาพ
3.1 การส่งเสริมการเรียนรู้การศึกษา
3.2 การขจัดปัญหาความยากจน
3.3 การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การกีฬาและนันทนาการ
3.4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.1 การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 การสนันสนุนและจัดให้มีระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน
6.1 พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
6.2 การพัฒนา การบริหารการจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ
6.3 ส่งเสริมการบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี
7.1 การสร้างจิตสำนึกและการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7.2 การปรับปรุงวิธีการทำงานและการสร้างแรงจูงใจ
7.3 การส่งเสริมมีส่วนร่วมและกระบวนการประชาสังคม
2.3 เป้าประสงค์
๑) ด้านการได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
๒) ประชาชนมีความรู้และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
๓) ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
๔) มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข
๕) การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
2.4 ตัวชี้วัด
๑) ประชาชนในเขตอบต.มีแหล่งน้ำในการอุปโภคเพิ่มมากขึ้นร้อยละ ๒
๒) ในเขต อบต. มีโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชนได้ใช้บริการร้อยละ ๓๐
๓) ประชาชนมีความรู้มากขึ้นร้อยละ ๙๐ และศิลปวัฒนธรรมอันดียังคงอยู่
๔) ประชาชนในเขต อบต. ร้อยละ ๘๐ มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา – วัฒนธรรมประเพณีและกีฬา
๕) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นร้อยละ ๑๐
๖) ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๕ และพึ่งตนเองได้มากขึ้น
๗) ชุมชนในเขต อบต. ร้อยละ ๗๐ น่าอยู่อย่างสงบสุข
๘) การบริการจัดการของ อบต.มีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ ๗๐
2.5 ค่าเป้าหมาย
1) ด้านการได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
- ค่าเป้าหมาย จำนวน โครงการ
2) ประชาชนมีความรู้และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
- ค่าเป้าหมาย จำนวน โครงการ
3) ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
- ค่าเป้าหมาย จำนวน โครงการ
4) มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข
- ค่าเป้าหมาย จำนวน โครงการ
๕) การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
- ค่าเป้าหมาย จำนวน โครงการ
๒.๖ กลยุทธ์
๑) พัฒนากักเก็บแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
๒) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
3) พัฒนา ปรับปรุงพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรม เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงขึ้น โดยขอความร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
4) ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงผลิตผลให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานสากลโดยการร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
5) ส่งเสริมสนับสนุนการถนอมและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร และเพิ่มช่องทางตลาด
6) ส่งเสริมประชาชนในท้องถิ่นให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคเพื่อจำหน่วยและเพื่อการอนุรักษ์
7) ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนให้เข้มแข็ง
8) ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
9) ส่งเสริม พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ประชาชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
10) ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสพ การผลิตและการจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ
11) ดำเนินการโครงการ เพื่อให้บริการประชาชน และรับทราบปัญหา อุปสรรค และความต้องการของประชาชนในพื้นที่
12) พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม)
13) ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในทุกระดับ ให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยให้การเรียนรู้การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การป้องกันโรค การใช้ยาอย่างถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือการรับบริการด้านสาธารณสุขตามขั้นตอนและวิธีการทางการแพทย์
14) ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชน
15) ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึง
16) พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่น โดยการอนุรักษ์สืบสานต่อและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว
17) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน ให้รองรับการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
18) นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร
19) สนับสนุนบุคลากรในสังกัด ให้ได้รับการศึกษา อบรม การทำวิจัย เพิ่มพูนความรู้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ การทำงานให้เกิดประสิทธิผลในการบริการประชาชน และในการสื่อสารและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน
20) บูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สร้างประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
21) เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
22) ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงาน มูลนิธิการกุศลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
23) สนับสนุนการฝึกอบรมจัดตั้งและอบรมฟื้นฟูตำรวจบ้านและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และดูแลรักษาความปลอดภัยและการจราจร
24) พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลองและป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์
25) รณรงค์สร้างจิตสำนึกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ
26) จัดทำระบบกำจัดขยะรวม และจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
๒.๗ จุดยืนทางยุทธศาสตร์
๑) การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
๒) การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง
๔) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน
๕) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
๒.๘ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
โครงสร้างความเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลแม่ยวมน้อย พ.ศ. 2561-2565
๓. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
๓.๑ การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (2561-2565) ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย ได้ใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis/Demand (Demand Analysis)/Global Demand และ Trend ปัจจัยและสภานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา อย่างน้อยต้องประกอบด้วย การวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสภาพการพัฒนาในปัจจุบัน และโอกาสในการพัฒนาใน อนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นการประเมินถึงโอกาสและภาวะคุกคามหรือข้อจำกัดอันเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของท้องถิ่น อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคการ SWOT analysis เพื่อพิจารณาศักยภาพการพัฒนาของแต่ละยุทธศาสตร์ ในแต่ละด้านดังนี้
จุดแข็ง (Strength : S)
- ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย มีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ วัฒนธรรมชนเผ่าดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
- พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อยมีลักษณะภูมิทัศน์ที่เหมาะสม ที่จะเป็นชุมชนน่าอยู่ น่าอาศัย และน่าท่องเที่ยว
- 3. ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อยมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
- ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย มีความเอื้ออาทรต่อกันในสังคม ยึดหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
- พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติค่อนข้างสูงและประชากรในเขตตำบลแม่ยวมน้อย มีความสำนึกในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ สามารถปรับตัวอยู่กับธรรมชาติได้อย่างเกื้อกูลกัน
- ประชาชนในพื้นที่มีความเคารพในสิทธิและเสรีภาพต่อกัน มีการรวมกลุ่มทางสังคมของแต่ละหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นฐานของชุมชนที่เข้มแข็ง
- ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และมีการขยายตัวและการเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมากต่อปี ซึ่งเอื้ออำนวยต่อตลาดกลางของจังหวัด
จุดอ่อน (Weakness : W)
- 1. ปัญหาการคมนาคมที่ยากลำบาก ทำให้การคมนาคมของประชาชนและเจ้าหน้าที่ค่อนข้างลำบาก
- 2. ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน
- 3. การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่มีน้อย
โอกาส (Opportunity : O)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาด้านคนและสังคม การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เป็นต้น
- แนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศไทย เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อยเอื้อต่อการท่องเที่ยวดังกล่าวเป็นอย่างมาก
- จังหวัดแม่ฮ่องสอนสนับสนุนให้แต่ละท้องถิ่นมีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่และถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น
- มีการให้ความสำคัญของการศึกษาของคนในท้องถิ่นทุรกันดาร รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษามากขึ้น
- การประสานงานและให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานระดับจังหวัดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ศักยภาพในการพัฒนาของ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อยมีมากขึ้น
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึง
- การสนับสนุนโครงการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศและจังหวัด
- ผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนในพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเอื้อต่อตลาดกลางของจังหวัด
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีให้ทั้งด้านการศึกษาของประชาชนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ขององค์กรตลอดจนสามารถอำนวยความสะดวกในส่วนของการประสานงานของหน่วยงานในระดับต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น
อุปสรรค (Treat : T)
- ประชาชนมีฐานะยากจนและมีอัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้นทำให้มีการอพยพของประชากรวัยแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯและเมืองอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น
- พื้นที่ทำการเกษตรมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและอยู่ในเขตป่าสงวน พื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก การสื่อสารภาษาที่มีความยากลำบาก
- ประชาชนมีพื้นฐานการศึกษาค่อนข้างต่ำ
- ความทันสมัยและกระแสวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นลืมรากฐานวัฒนธรรมที่มีอยู่
การพัฒนาท้องถิ่นช่วงระยะเวลา 5 ปี ตามแผนพัฒนาตำบล มีจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ดังนี้
- การพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
1. มีดินอุดมสมบูรณ์ |
1. ประชาชนมีความเป็นอยู่แบบพอยังชีพ |
โอกาส |
ข้อจำกัด |
1. มีเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท 2. ที่ดินอุดมสมบูรณ์ 3. มีเงินทุนหมุนเวียนเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง |
1. อยู่ห่างไกลจากตลาดใหญ่(เชียงใหม่) 2. มีกำลังซื้อต่ำ เนื่องจากรายได้ต่อหัวน้อย |
๑.๒ นโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
1. ประชาชนให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสติด |
1. ภูมิประเทศเป็นป่าเขาและเสี่ยงต่อการเป็นจุดลำเลียงยาเสพติด 2. การสูบฝิ่นยังมีอยู่ในหมู่ผู้สูงอายุชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง |
โอกาส |
ข้อจำกัด |
1. เส้นทางคมนาคมและการสื่อสารไปสู่ภายนอกยากลำบากมาก |
๑. มีพื้นที่ติดถนนสายหลัก |
๑.๓ นโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบในวงราชการ
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
1. มีองค์กรเอกชนในพื้นที่ 2. ประชาชนให้ความสนใจต่อการพัฒนาท้องถิ่น |
1. ประชาชนมีรายได้จาการรับจ้าง, การเกษตร และการศึกษาต่ำ 2. ประชาชนเคยชินกับการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ |
โอกาส |
ข้อจำกัด |
1. มีการสนับสนุนประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารการดำเนินงานของหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง |
1. ประชาชนเคยชินกับการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก 2. ประชาชนยังห่วงปากท้องมากกว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองปกครอง |
1.4 นโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- เศรษฐกิจแบบพอเพียง
- เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
1. ประชาชนมีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย 2. ประชาชนยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น |
1. ชุมชนยังขาดความรู้ในกระบวนการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง |
โอกาส |
ข้อจำกัด |
1. มีนโยบายแผนงานส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน |
๑. ประชาชนเคยชินกับการได้รับความช่วยเหลือ |
๒. การพัฒนาตามนโยบายริเริ่มของท้องถิ่น
- ส่งเสริมการท่องเที่ยว
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
1. มีศิลปะ วัฒนธรรมแบบดั้งเดิมที่ยังอนุรักษ์ไว้ 2. มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น ดอยหมื่อก่าโด ดอยผา ซึ่งยังคงไว้ซึ่งศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น |
1. การพัฒนาแหล่งเที่ยวมีน้อย 2. ยังขาดการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
|
โอกาส |
ข้อจำกัด |
1. มีกองทุนหมุนเวียนให้กู้ยืม โดยส่งใช้ ๕ ปี ไม่มีดอกเบี้ย 2. ประชาชนยังคงอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมแบบดั้งเดิมไว้ |
1. ประชาชนมีรายได้น้อย 2. ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีน้อย |
ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
1. มีอากาศและธรรมชาติดี 2. มีความเป็นอยู่ดีตามอัตภาพ 3. มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย 4. มีประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่า 5. มีความสามัคคี 6. มีปราชญ์ชาวบ้าน(ภูมิปัญญาท้องถิ่น) 7. มีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด |
1. การคมนาคมไม่สะดวก 2. การว่างงาน 3. ผลผลิตตกต่ำ 4. ปัญหาหนี้นอกระบบ 5. ขาดการต่อเนื่องในการพัฒนา 6. ขาดการส่งเสริมด้านประเพณีและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง 7. มีการสื่อสารไม่ทั่วถึง 8. ขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนา |
โอกาส |
ข้อจำกัด |
1. พัฒนาอาชีพแบบยั่งยืน 2. ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม 3. ส่งเสริมการออกกำลังกาย 4. พัฒนาคนและสร้างจิตสำนึก 5. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว |
1. มีข้อจำกัดเรื่องกฎหมาย / นโยบายด้านป่าไม้ 2. การพัฒนาไม่สอดคล้องกับวีถีชีวิตของประชาชน 3. ราชการมีหลักการและขั้นตอนมากเกินไป 4. พื้นที่ห่างไกลจากสถานีตำรวจ |
3.2 ประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (2561-2565) ขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ได้ทำการประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อปัญหา |
สภาพปัญหา |
พื้นที่เป้าหมาย |
แนวโน้มในอนาคต |
๑.ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
|
๑.ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ถือครอง
|
ทุกหมู่บ้าน
|
-สำนักงานที่ดินสำรวจเอกสารสิทธิ์เพื่อดำเนินการ |
๒.ระบบไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึงโดย เฉพาะครัวเรือนที่ตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้าน และไฟฟ้าเข้าไม่ถึง |
หมู่บ้านหัวแม่ลาก๊ะ และหมู่บ้านแม่โกปี่
|
-ระบบพลังงานทดแทน จะมีบทบาทสำคัญในอนาคต โดยเฉพาะไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถแก้ปัญหาสำหรับพื้นที่ห่างไกลคู่สายไฟฟ้า |
|
๓.ถนนเพื่อการลำเลียงผลการผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอทำให้การลำเลียงผลผลิตไม่สะดวกล่าช้า |
ทุกหมู่บ้าน
|
-การเกษตรยังเป็นพื้นฐานหลักทาง เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหากระบบเศรษฐกิจระดับรากหญ้ามีความแข็งแกร่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่ง -การพัฒนาระบบขนส่งการลำเลียงผลผลิตจะช่วยให้ ผลผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทันต่อความต้องการของผู้บริโภค |
|
๔.เส้นทางการคมนาคมระหว่างหมู่บ้านหรือระหว่างสถานที่ราชการที่สำคัญไม่สะดวกในการติดต่อเพื่อรับบริการจากหน่วยงานนั้นๆ |
ทุกหมู่บ้าน
|
-การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้ท้องถิ่นเป็นหน่วยราชการที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากยิ่งขึ้น ประชาชนจะมารับบริการมากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาเส้นทางการคมนาคมให้มีความสะดวก |
|
๕.ขาดแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคที่เพียงพอ โดยเฉพาะใน ฤดูแล้งจะรุนแรงมาก |
หมู่บ้านที่ยังไม่มีระบบประปา
|
-ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคได้รับการแก้ไขให้มีน้ำใช้มากขึ้นโดยเฉพาะในฤดูแล้ง
|
|
๖.ไฟฟ้าสาธารณะยังไม่เพียงพอ สำหรับจุดที่มีจำเป็นต้องติดตั้ง |
ทุกหมู่บ้าน |
-ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินนับวันยิ่งรุนแรงขึ้น การติดตั้งไฟฟ้าสาธารณจะสามารถลดปัญหาได้ระดับหนึ่ง |
ชื่อปัญหา |
สภาพปัญหา |
พื้นที่เป้าหมาย |
แนวโน้มในอนาคต |
๒.ปัญหาด้านเศรษฐกิจและความยากจน |
๗.การว่างงานของประชาชนหลังฤดูเก็บเกี่ยว |
ทุกหมู่บ้าน |
-ฝึกอบรมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพ สามารถมีรายได้เสริมหลังฤดูการเก็บเกี่ยวทุกครัวเรือน |
๓.ปัญหาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต พัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ |
๑.ประชาชนยังขาดความรู้และความเข้าใจในการป้องกันโรคระบาดต่างๆ ทำให้ยากแก่การป้องกัน |
ทุกหมู่บ้าน |
-ความเจริญของโลกทำให้ชีวิต ประ จำวันเปลี่ยนแปลง การวางแผนชีวิตที่ดีจะทำอยู่รอดในสังคม |
|
๒.ประชาชนชนยังขาดความสนใจใน การรักษาสุขภาพ และปัญหาด้านสุขอนามัย |
ทุกหมู่บ้าน |
-สภาพอากาศ ฤดูกาลของโลกเปลี่ยนแปลงไป การพึ่งพาการเกษตรตามฤดูกาลอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะสร้างชุมชนเข้มแข็ง |
3.การศึกษาในระดับก่อนวัยเรียน ยังขาดสื่อและอุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัย และเหมาะสมกับการพัฒนาการในวัยนี้ |
ทุกหมู่บ้าน
|
-สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ว่าจะมีความรู้ก้าวไกล เท่าทันต่อโลกเพียงใด
|
|
4.ขาดบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะพื้นที่บนดอยซึ่งห่างไกลความเจริญ |
หมู่บ้านที่ห่างไกลเช่น หมู่ที่ 2,๘,7 |
-ประสานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอใช้บัญชีผู้สอบบรรจุเป็นครูจ้างสอน และอุดหนุนคณะกรรมการการศึกษาเพื่อจ้างครูสอน |
|
5.ประชาชนในพื้นที่ขาดการตื่นตัว ในการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ |
ทุกหมู่บ้าน |
-การกีฬาจะพัฒนาเข้าสู่ระบบอาชีพมากขึ้น การเล่นกีฬาในอนาคตจะสามารถยึดเป็นอาชีพได้หรือ การกีฬาจะสามารถสร้างสุขภาพที่ดีให้เกิดขึ้นได้ จึงสมควรที่จะมีการสนับสนุนการเล่นกีฬาในทุกรูปแบบ |
|
6.ขาดการปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กและเยาวชน |
ทุกหมู่บ้าน
|
-จัดตั้งกลุ่มที่สนใจและประชาสัมพันธ์รวมทั้งสร้างเครือข่ายในการเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม |
ชื่อปัญหา |
สภาพปัญหา |
พื้นที่เป้าหมาย |
แนวโน้มในอนาคต |
๔. ปัญหาด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
๑.การเสื่อมศีลธรรมทางศาสนาของคนทำให้ไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมหลายเรื่องตามมา |
ทุกหมู่บ้าน
|
-วัตถุนิยมเข้ามาครอบงำสังคม ทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคม สมควรที่จะส่งเสริมให้ เกิดศีลธรรมโดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจ
|
๒.วัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงาม ภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มสูญหาย เนื่องจากไม่ได้รับความสนใจ จากเยาวชนรุ่นหลัง |
ทุกหมู่บ้าน
|
-วัฒนธรรมที่สั่งสมมาแต่โบราณจนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นจะสูญหายไปหากไม่มีการดำรงรักษาไว้
|
|
๕. ปัญหาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
๑.ปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติเป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ ชีวิตและทรัพย์สิน นับวันจะยิ่งรุนแรงขึ้น การเตรียมความพร้อมเสมอ จะช่วยลดความสูญเสียลงได้ในระดับหนึ่ง
|
ทุกหมู่บ้าน |
-ปรากฏการณ์เอลนิลโย ทำให้สภาวะอากาศฤดูกาลของโลกเปลี่ยนแปลง เกิดภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ |
๒.ขาดระบบบริหารการจัดการน้ำที่ดี เนื่องจากในฤดูน้ำหลากจะเกิดปัญหาน้ำท่วมเสมอ และในฤดูแล้งจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง |
ทุกหมู่บ้าน
|
-การสร้างระบบบริหารจัดการน้ำ ถือว่าเป็นการเตรียมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมหรือขาดแคลนน้ำได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างที่กักเก็บน้ำ การสร้างระบบชลประทาน การสร้างระบบระบายน้ำ
|
|
๓.การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่มีอยู่ไม่คุ้มค่า แหล่งน้ำนับว่ามีประโยชน์มากกว่าเพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค และยังสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และประโยชน์ในด้านต่างๆ นานับ ประการ |
ทุกหมู่บ้าน
|
-การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ จะช่วยให้ชุมชนรู้จักวิธีการหารายได้ พึ่งตนเอง พึ่งทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะเป็นทางออกที่สำคัญของโลกในอนาคต |
|
๔.พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมยังไม่ได้รับการ ปรับปรุงแก้ไข หรือฟื้นฟู |
ทุกหมู่บ้าน |
- หากไม่มีการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม คุณภาพของดินจะเสื่อมถอย |
|
๕.พื้นที่ป่าสีเขียวลดน้อยลง เนื่องจาก การบุกรุกถางป่า |
ทุกหมู่บ้าน |
- หากยังมีการทำลายป่าไปเรื่อย จะทำให้เกิดปัญหาระบบนิเวศ ปัญหาฝนแล้ง ปัญหาน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก |
|
๖.ขยะและสิ่งปฏิกูล ถือว่าเป็นสิ่งที่กำลังจะสร้างปัญหาให้กับสังคมชนบท หากไม่มีการวางแผนที่ดีจะกลายเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข |
ทุกหมู่บ้าน |
-ควรจะมีการสร้างระบบบริหารจัดการการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากนับวันปริมาณขยะที่กำจัดยาก ขยะมีมลพิษจะยิ่งมากขึ้น
|
|
๖. ปัญหาด้านการท่องเที่ยว |
๑.สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในพื้นที่ให้ได้รับการพัฒนา หรือปรับ ปรุงให้เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึงครอบคลุม |
หมู่ 1 บ้านหัวปอน
|
-การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จะเป็นที่ นิยมมากขึ้น สมควรที่จะมีการ พัฒนาหรือดึงศักยภาพที่มีอยู่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด |
๒.ประชาชนยังได้รับประโยชน์ จากการท่องเที่ยวเฉพาะบางฤดูกาล |
หมู่ 1 บ้านหัวปอน |
- การท่องเที่ยวในด้านอื่นๆ สามารถสร้างขึ้นได้โดยการร่วมมือกันพัฒนาจากทุกฝ่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง |
|
๗.ปัญหาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี |
๑.ประชาชนยังขาดกระบวนการเรียนรู้ด้านการเมืองการปกครอง ทำให้กระบวนการตรวจสอบทางการเมืองยังอ่อนแอ |
ทุกหมู่บ้าน
|
-การปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองโดยประชาชน เพื่อ ประชาชน ดังนั้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเมืองการปกครองจะทำให้สังคมเกิดความสมดุล |
๒.ประชาชนยังขาดความสนใจ ในด้านการมีส่วนร่วม ด้านการเมืองการ ปกครอง และการบริหารหรือพัฒนาท้องถิ่นทำให้การดำเนินการเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาของบุคคลบางกลุ่ม |
ทุกหมู่บ้าน
|
-การพัฒนาและการแก้ปัญหาหรือ การวางแผนกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกฝ่าย |
|
๓.ประชาชนไม่เข้าใจระบบบริหาร งาน ของ อบต.ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการติดต่อ ประสานงาน อยู่บ่อยครั้ง |
ทุกหมู่บ้าน
|
-อบต.เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับ ประชาชน และนับวันภารกิจจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการสร้างความเข้ากับประชาชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ |
|
๔.ข้าราชการหรือพนักงาน ต้องปรับปรุงกระบวนการทำงาน ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดีที่สุด มากกว่าที่เป็นอยู่ |
พนักงานส่วนตำบลหรือพนักงานจ้าง |
-การบริการที่ดีขององค์กรเป็นสิ่งที่พึงปารถนาของผู้รับบริการ ดังนั้น การข้าราชการผู้ปฏิบัติงานต้องมีจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี |
|
๕.ระบบบริหารจัดการของภาครัฐยังมีกฎระเบียบที่มาก ทำให้การให้บริการประชาชนยังขาดความคล่องตัว และมีขั้นตอนมาก |
พนักงานส่วนตำบลหรือพนักงานจ้าง |
-การอธิบายและการประชาสัมพันธ์ การทำความเข้าใจให้กับประชาชน ในพื้นที่ได้ทราบถึงบทบาทและวิธี การบริหารงาน วิธีการทำงาน ของ |
ส่วนที่ 3
การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงาน
ที่ |
ยุทธศาสตร์ |
ด้าน |
แผนงาน |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
หน่วยงานสนับสนุน |
๑ |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค |
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูโภค |
- แผนงานเคหะและชุมชน - แผนงนอุสาหกรรมและโยธา |
กองช่าง
|
อบต. แม่ยวมน้อย
|
๒ |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
|
ด้านการเศรษฐกิจ |
- แผนงานเกษตร |
สำนักงานปลัด และกองคลัง
|
|
๓ |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพคน สังคม ชุมชนให้มีคุณภาพ |
ด้านบริการชุมชนและสังคม
|
- แผนงานสาธารณสุข - แผนงานการศึกษา - แผนงานรักษาความสงบภายใน - แผนงานสังคมสงเคราะห์ - แผนงานสร้างความเข้มแข้งของชุมชน - แผนงานงบกลาง |
สำนักงานปลัด และกองคลัง
|
|
๔ |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
ด้านการอนุรักษ์ส่งเสริมศาสนา
|
- แผนงานบริหารทั่วไป - แผนงาน การศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
|
สำนักงานปลัด |
|
5 |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
- แผนงานเคหะและชุมชน แผนงานเกษตร |
สำนักงานปลัด |
|
6 |
การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน
|
ด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน |
- แผนงานศาสนาวัฒนธรรม และนันทนาการ - แผนงานเคหะและชุมชน |
สำนักงานปลัด |
|
7 |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี |
ด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี |
- แผนงานสร้างความเข้มแข้งของชุมชน - แผนงานการบริหารงานทั่วไป |
|
|
รวม |
7 ยุทธศาสตร์ |
7 ด้าน |
๑2 แผนงาน |
3 สำนัก/กอง |